บทความล่าสุด

Adobe Dreamweaver

การเปลี่ยน WorkSpace ใน Adobe Dreamweaver CC

สร้างเมื่อ : 02.12.2565

อ่านต่อ

...

Deep Learning

การเรียนรู้เชิงลึก

สร้างเมื่อ : เร็ว ๆ นี้

อ่านต่อ
...



อ่านบทความทั้งหมดเกี่ยวกับ IoT


...

แนะนำ IoT เบื้องต้น

          Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่น ๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่าง ๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น
     Internet of Things นี้ได้แก่การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรานึกออก เช่น แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส รองเท้าวิ่งที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการวิ่ง ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้

หัวข้อ


1) ความหมายของ IoT

      Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่น ๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่าง ๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น         กล่าวได้ว่า Internet of Things นี้ได้แก่การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรานึกออก เช่น แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส รองเท้าวิ่งที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการวิ่ง ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้            นอกจากนั้น Cloud Storage หรือ บริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลของคุณผ่านทางออนไลน์ หรือเรียกอีกอย่างว่า แหล่งเก็บข้อมูลบนก้อนเมฆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราใช้งานบ่อย ๆ แต่ไม่รู้ว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของ Internet of Things สมัยนี้ผู้ใช้นิยมเก็บข้อมูลไว้ในก้อนเมฆมากขึ้น เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ คือ ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายหรือถูกโจรกรรม ทั้งยังสามารถกำหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะก็ได้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แถมยังมีพื้นที่ใช้สอยมาก มีให้เลือกหลากหลาย ช่วยเราประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากเราไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ หรือ Flash drive ต่าง ๆ

 

2) ประวัติของ IoT

      ในปี 1999 นาย Kevin Ashton ที่ทำงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT เขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับบริษัท Procter & Gamble หรือ P&G ที่เราคุ้นเคย ซึ่งการบรรยายในครั้งนั้นเขาได้นำเสนอโครงการที่ชื่อว่า  Auto-ID Center ซึ่งต่อยอดมาจากเทคโนโลยี RFID ที่ในขณะนั้นถือเป็นมาตรฐานโลกสำหรับการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ( RFID Sensors) ว่าตัวเซ็นเซอร์เหล่านั้นสามารถทำให้มันพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบ Auto-ID ของเขา โดยการบรรยายให้กับ P&G ในครั้งนั้นนาย Kevin Ashton ก็ได้ใช้คำว่า Internet of Things ในสไลด์การบรรยายของเขาเป็นครั้งแรก โดย Kevin นิยามเอาไว้ตอนนั้นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดก็ตามที่สามารถสื่อสารกันได้ได้ก็ถือเป็น “internet-like” หรือพูดง่าย ๆ ก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารแบบเดียวกับกับระบบอินเตอร์เน็ตนั้นเอง โดยคำว่า “Things” ก็คือคำใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เหล่านั้น

      จากคำนิยามที่นาย Kevin Ashton ได้บรรยายไว้ ก็ได้มีการยกตัวอย่างเจ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าข่ายถือเป็น Internet of Things ได้นั้นก็พบว่าเจ้าตู้ ATM ที่เราใช้กดเงินกันอยู่ทุกวันนี้นี่แหละถือเป็น Internet of Things ชิ้นแรกของโลก เพราะมันสามารถเชื่อมต่อสื่อสารหากันได้ผ่านเครือข่ายของธนาคารและสาขาต่าง ๆ ซึ่งเจ้า ATM นั้นถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1974 ก่อนที่จะมีการนิยามคำว่า Internet of Things เสียด้วยซ้ำ

      ต่อมาหลังปี 2000 โลกมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นจำนวนมากและมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้ คือ smart device, smart grid, smart home, smart network, smart intelligent transportation ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกันโดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart devices ต่าง ๆ จะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้วมันยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นได้ด้วย อินเตอร์เน็ตของทุกสิ่ง นั้นคือการที่เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่ได้จำกัดเพียงจะต้องเป็นมนุษย์สื่อสารกับมนุษย์ หรือมนุษย์สื่อสารกับอุปกรณ์เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการที่อุปกรณ์ สิ่งของต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันเองได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ในทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ แพทย์สามารถทำการฝังอุปกรณ์ลงไปในร่างกายของผู้ป่วย เพื่อคอยตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจผู้ป่วย ถ้าหากมีระดับการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ อุปกรณ์ที่ติดตั้งเอาไว้จะทำการเชื่อมต่อไปยังระบบของโรงพยาบาล ซึ่งระบบก็จะส่งข้อมูลไปยังแพทย์ที่รับผิดชอบทันที เพื่อแพทย์จะได้ทำการช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที  นอกจากการฝังอุปกรณ์ลงไปในร่างกายของผู้ป่วยแล้ว ยังมีการฝังชิปลงในร่างกาย หรือปลอกคอของสัตว์เลี้ยงอีกแล้ว เพื่อจะได้ตรวจสอบข้อมูลเจ้าของ หรือติดตามสัตว์เลี้ยงเวลาหายได้อีกด้วย

3) ประเภทของ IoT

ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่ม Internet of Things ออกตามตลาดการใช้งานเป็น 2 กลุ่มได้แก่
   - Industrial IoT
คือ แบ่งจาก local network ที่มีหลายเทคโนโลยีที่แตกต่างกันในโครงข่าย Sensor nodes โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะเชื่อมต่อแบบ IP network เพื่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต เข่น Node MCU8266
   - Commercial IoT
คือ แบ่งจาก local communication ที่เป็น Bluetooth หรือ Ethernet (wired or wireless) โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะสื่อสารภายในกลุ่ม Sensor nodes เดียวกันเท่านั้นหรือเป็นแบบ local devices เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้เชื่อมสู่อินเตอร์เน็ต

4) องค์ประกอบของ IoT

      การทำงานของ IoT นั้นต้องเรียกว่าเป็น Ecosystem เลยทีเดียว เพราะหากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปก็จะเกิดความบกพร่องได้ ซึ่งประกอบไปด้วย
- Smart Device อุปกรณ์ที่มีหน้าที่เฉพาะ เป็นจุดเริ่มต้นที่ตอบโจทย์การใช้ IoT โดยจำเป็นต้องมีส่วนประกอบอย่าง
- Microprocessor และ Communication Device อยู่ภายในเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลที่ Smart Device ส่งมอบไปยังระบบ ไม่เพียงแต่ข้อมูลตามหน้าที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสภาพของอุปกรณ์ด้วย ผู้ใช้จึงไม่ต้องเดินทางมาตรวจสอบอุปกรณ์ด้วยตัวเองเป็นประจำ
- Cloud Computing หรือ Wireless Network สื่อกลางรับส่งข้อมูลจาก Smart Device ไปยังผู้ใช้ ซึ่งมีทั้งการส่งข้อมูลผ่านระบบ Wireless ไปยังผู้ใช้และการส่งผ่าน Cloud Computer ซึ่งการส่งข้อมูลไปยัง Cloud ช่วยรองรับการใช้งาน Smart Device จำนวนมากกว่า ระยะทางไกลกว่า รวมถึงอาจมีการติดตั้งระบบแปลงการแสดงผลข้อมูลให้เหมาะกับผู้ใช้ในส่วนนี้ได้
- Dashboard ส่วนแสดงผลและควบคุมการทำงานในมือของผู้ใช้ อยู่ในรูปของ Device หรือแอปพลิเคชันในคอมพิวเตอร์หรือ Smartphone ผู้ใช้จะดูข้อมูลที่ Smart Device ส่งมา ตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์และระบบ รวมถึงถ่ายทอดคำสั่งใหม่ไปยัง Smart Device จากส่วนนี้

5) ประโยชน์ของ IoT

     การที่เทคโนโลยีเป็นที่แพร่หลายนั้นไม่ได้อยู่ที่ปัจจัยด้านราคาอย่างเดียว แต่เทคโนโลยีนั้นต้องส่งมอบประโยชน์ต่อชีวิตของพวกเราด้วย ซึ่ง Internet of Things ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ รับส่งข้อมูลรูปแบบดิจิทัล ปัจจุบัน ข้อมูลดิจิทัลมีความจำเป็นมาก เพราะสามารถนำไปใช้กับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ทันที ซึ่ง IoT มีคุณสมบัติด้านการเก็บข้อมูลทางภายภาพให้อยู่ในรูปดิจิทัลได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว จึงนับเป็นประโยชน์อย่างมากในยุค Digital Transformation แม่นยำ ใช้ได้ตลอดเวลา และส่งข้อมูลแบบ Real-Time ข้อมูลจาก IoT ไม่เพียงแต่เป็นดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วระดับ Real-Time มีความแม่นยำ และสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ช่วยให้มีข้อมูลในการตัดสินใจได้ทันท่วงที
ลดภาระงานของบุคลากร ในอดีตการเก็บข้อมูลอาจต้องใช้คนเดินทางเข้าไปสอดส่องที่เครื่องมือเพื่อหาความผิดปกติ แต่ปัจจุบัน IoT ไม่เพียงแต่สอดส่องให้เราผ่าน Dashboard เท่านั้น แต่ยังสามารถเรียนรู้การหาความผิดปกติด้วยเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น Artificial Intelligence ได้
ทำงานตรวจสอบในจุดที่คนเข้าไม่ถึง เราสามารถออกแบบ Smart Device ให้มีขนาดเล็กและทนทานเพื่อติดตั้งตามจุดที่คนเข้าถึงยากหรือในจุดที่มีอันตรายระหว่างดำเนินการได้ เช่น ภายในท่อส่งน้ำมัน หรือบ่อบำบัดน้ำเสีย ช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินจากการต้องเข้าพื้นที่อันตรายเป็นประจำได้

...

6) การประยุกต์ใช้งาน IoT

6.1 Smart Industry เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม Industry 4.0

เทคโนโลยี IOT ที่ทำงานร่วมกับระบบ Security  ในภาคอุตสาหกรรม
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิตัลและอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มผลผลิตได้เร็วขึ้นด้วยคุณภาพที่สูงขึ้น และลดปริมาณของเสียที่เกิดจากการผลิต นอกจากนี้ยังสามารถนำ Industrial IoT มาใช้เพิ่มความฉลาดของระบบความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการด้านความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง IoT ยังเป็นการปรับปรุงกระบวนการดำเนินการหลัก ๆ ได้แก่ เรื่องของการตรวจสอบสถานะการทำงานได้จากระยะไกล การซ่อมบำรุงที่คาดการณ์ได้ การควบคุมที่ล้ำหน้า รวมถึงการเฝ้าระวังและรักษาความปลอดภัย ซึ่งเราเรียกรวมกันว่า ระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ หรือ Smart Security โดยแต่ละองค์ประกอบของสิ่งที่กล่าวมาช่วยเรื่องของอัพไทม์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่อุปกรณ์หรือระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเต็มที่ ในเรื่องของประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผ่านการใช้ซอฟต์แวร์ เซนเซอร์ การเชื่อมต่อ และการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการวิจัยของ ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, สวทช. พบว่าโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่มีความต้องการที่จะปรับตัวไปสู่โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ตามแนวทางของ Industry 4.0 โดยในเบื้องต้นต้องการใช้ IoT เพื่อเชื่อมต่อเครื่องจักรเข้ากับระบบและบูรณาการข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากโรงงานแต่ละแห่งมีความพร้อมในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยี IoT แตกต่างกันไป การเตรียมความพร้อมควรพิจารณาตามองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้
      1. การเชื่อมต่อ (Connectivity)
      2. การเก็บข้อมูล (Data Collection/ Data Acquisition)
      3. การบูรณาการข้อมูล (Data Integration)
      4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis / Data Analytics) และการแสดงผล (Visualization)

      จากองค์ประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวมา โรงงานที่สนใจนำเทคโนโลยี IoT มาใช้มีความพร้อมแตกต่างกัน โรงงานในกลุ่มขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) มีความต้องการเปลี่ยนการบันทึกข้อมูลการผลิตหรือการตรวจสอบเครื่องจักรด้วยมือมาเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บข้อมูลเข้าระบบโดยอัตโนมัติ และต้องการให้เครื่องจักรเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถนำข้อมูลการผลิตออกมาวิเคราะห์ ส่วนโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อ(Connectivity) ในระดับของเครื่องจักรและมีระบบตรวจสอบ (Monitoring) อยู่บ้างแล้วต้องการการบูรณาการข้อมูลของระบบย่อยต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงไปถึงระบบ ERP และเริ่มศึกษาการวิเคราะห์หรือตีความข้อมูลในมิติต่าง ๆ


      จากภาพตัวอย่างด้านบน เป็นภาพที่แสดงการทำงานองค์รวมของระบบ IIOT ที่สามารถทำงานร่วมกับฟังก์ชันงานด้านต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตได้ ระบบจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานจากระยะไกล การซ่อมบำรุงที่คาดการณ์ได้ การควบคุมที่ล้ำหน้า รวมถึงการเฝ้าระวังการทำงานในกระบวนการต่าง ๆ
ซึ่งในวันนี้ทางบริษัทจะขอกล่าวถึงการทำงานด้านระบบ รักษาความปลอดภัยแบบอัจฉริยะ (Smart Security) โดยเป็นการทำงานจากระบบ กล้องวงจรปิด Avigilon สินค้าชั้นนำระดับโลกจากประเทศแคนาดา ที่มาพร้อมซอฟท์แวร์บริหารจัดการจากภาพวิดีโอ, ระบบวิเคราะห์ภาพและค้นหาอัจฉริยะ (Appearance Search) ค้นหาบุคคลได้ง่ายและรวดเร็ว เพียงแค่ระบุ เพศ สีผม สีเสื้อผ้า, ตรวจจับการเคลื่อนไหวแบบผิดปกติ ,ระบบควบคุมการเข้าออก, การวิเคราะห์ภาพจดจำป้ายทะเบียน พร้อมทั้งรองรับการสนับสนุนอุปกรณ์วิดีโอรุ่นใหม่ให้ใช้งานได้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น

6.2 เมืองอัจฉริยะ (Smart City)
      Smart City เพื่อนำมาปรับใช้ร่วมกับโครงสร้างพื้นฐาน และระบบต่าง ๆ ของเมืองใน 4 ด้าน คือ ด้านการท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ

      โดยพัฒนา IoT เพื่อตอบสนอง และอำนวยความสะดวกในแต่ละด้านของเมือง อาทิ
            Smart Living เมืองน่าอยู่
            Smart Governance เมืองที่บริหารจัดการโปร่งใส
            Smart Mobility เมืองที่สามารถติดต่อสื่อสารและเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย
            Smart People เมืองที่ให้ความเท่าเทียมกันในสังคม
            Smart Safety เมืองปลอดภัย
            Smart Economy เมืองที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ
            Smart Environment เมืองประหยัดพลังงาน
            Smart Tourism เมืองท่องเที่ยว
            Smart Farming เกษตรอัจฉริยะ เมืองเกษตรกรรมทันสมัย

      คำว่า เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City น่าจะเป็นคำคุ้นเคยที่ได้ยินกันตามสื่อต่าง ๆ อย่างแพร่หลายในช่วงระยะเวลาไม่นานนี้ นั่นเป็นเพราะประเทศไทยกำลังเดินหน้าพัฒนามุ่งมั่นก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City เพื่อมุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสอดคล้องกับยุค Thailand 4.0
เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City เป็นรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิและคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Smart City เป็นโครงการที่หลาย ๆ เมืองทั่วโลก พยายามพัฒนาให้เข้ากับยุค 4.0 โดยการเอาเทคโนโลยีมาผสานกับการใช้ชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะทั้งด้านการขนส่ง การใช้พลังงาน หรือโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะทำให้เมืองที่สะดวกสบายเหมือนในฝัน เกิดขึ้นได้จริง ทั้งยังทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขกันด้วย แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ซึ่งเป็นรากฐานในการเชื่อมโยงอุปกรณ์หรือสิ่งของรอบ ๆ ตัวเข้ากับโครงข่ายการสื่อสารแบบอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการวางผังเมืองที่ชาญฉลาด รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายรูปแบบการบริหารจัดการเมืองแบบ Smart City เป็นการสร้างเมืองที่จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และเลือกใช้พลังงานสะอาด จึงช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหามลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ การระบายน้ำ ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี คุณภาพอากาศที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat Island Effect)

แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่มี Smart City ที่สมบูรณ์เป็นรูปเป็นร่าง แต่ก็กำลังขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็นเมืองอัจฉริยะต้นเเบบด้วยกัน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะซึ่งมีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เน้น 5 เสาหลักสำคัญ ดังนี้
        - เสาหลักที่ 1 การพัฒนาเมืองอัจฉริยะต้นแบบ มีเป้าหมายในการเลือกเมืองที่มีศักยภาพ ที่จะใช้สำหรับการดำเนินงานนำร่อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
        - เสาหลักที่ 2 การปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีเป้าหมายที่จะบูรณาการกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ
        - เสาหลักที่ 3 สร้างกลไกบริหารจัดการในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไปสู่ภาคปฏิบัติ มีเป้าหมายให้มีผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพื้นที่ จัดเตรียมองค์กร ระบบ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการให้บริการสาธารณะในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
        - เสาหลักที่ 4 ผลักดันเมืองอัจฉริยะด้วยการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม มีเป้าหมายในการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่สามารถนำไปปรับใช้สำหรับเมืองอัจฉริยะในอนาคต
        - เสาหลักที่ 5 ส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนเข้าถึงการเชื่อมโยงและการใช้งานข้อมูล โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ข้อมูล สร้างการเรียนรู้ รวมทั้งสนับสนุนการวางแผน ตลอดจนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม

องค์ประกอบสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ

การที่จะเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) สมบูรณ์แบบ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ 7 อย่าง ดังต่อไปนี้
        - Smart Mobility การสัญจรอัจฉริยะ การตรวจจับป้ายจราจร
        - Smart Community ชุมชนอัจฉริยะ ตุ๊กตาดูแลผู้สูงอายุ
        - Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ
        - Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ
        - Smart Governance การปกครองอัจฉริยะ
        - Smart Building อาคารอัจฉริยะ
        - Smart Energy พลังงานอัจฉริยะ

6.3 Smart Life

            เพื่อให้รูปแบบของการใช้ชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไปจากเดิม มนุษย์สามารถพูดคุยกับสิ่งของได้สิ่งของสามารถพูดคุยและรับรู้พฤติกรรมของมนุษย์ได้ ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีจะมีการพัฒนาให้สิ่งของสามารถพูดคุยกันเองได้โดยไม่ต้องผ่านมนุษย์

6.4 กล้องวงจรปิดความละเอียดสูงพร้อมระบบวิเคราะห์ภาพอัจฉริยะ H4A Camera with Self-Learning Video Analytics

6.5 การวิเคราะห์จดจำป้ายทะเบียน (LPR: License Plate Recognition)

            แม่นยำในการจับภาพ ระบุและค้นหายานพาหนะได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำเป็นรายการเฝ้าระวังได้ (Watch List)และส่งสัญญาณเตือนเมื่อเกิดความผิดปกติ จากเทคโนโลยีที่กล่าวมานั้น ทางบริษัท ขอแนะนำอุปกรณ์กล้องวงจรปิด ระบบซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อการทำงาน ควบคุมรวมทุกกระบวนการไว้ในที่เดียวได้ ทำให้การทำงานง่าย เพียงแค่ปลายนิ้ว ลดเวลาลดต้นทุน ในกระบวนการทำงาน ทำงานได้อย่างอัจฉริยะ (Smart Security) เพื่อตอบโจทย์ Industrial IoT เทคโนโลยี 4.0 ได้อย่างลงตัว

6) อุปกรณ์ Internet of Things

            Arduino อ่านว่า (อา-ดู-อิ-โน่ หรือ อาดุยโน่) เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูล AVR ที่มีการพัฒนาแบบ Open Source คือมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งด้าน Hardware และ Software ตัว บอร์ด Arduino ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา ทั้งนี้ผู้ใช้งานยังสามารถดัดแปลง เพิ่มเติม พัฒนาต่อยอดทั้งตัวบอร์ด หรือโปรแกรมต่อได้อีกด้วย ความง่ายของบอร์ด Arduino ในการต่ออุปกรณ์เสริมต่าง ๆ คือผู้ใช้งานสามารถต่อวงจรอิเล็กทรอนิคส์จากภายนอกแล้วเชื่อมต่อเข้ามาที่ขา I/O ของบอร์ด (ดูตัวอย่างรูปที่ 1) หรือเพื่อความสะดวกสามารถเลือกต่อกับบอร์ดเสริม (Arduino Shield) ประเภทต่าง ๆ (ดูตัวอย่างรูปที่ 2) เช่น Arduino XBee Shield, Arduino Music Shield, Arduino Relay Shield, Arduino GPRS Shield เป็นต้น มาเสียบกับบอร์ดบนบอร์ด Arduino แล้วเขียนโปรแกรมพัฒนาต่อได้เลย

 

 


...

............

Links


...
อัพเดตล่าสุด !
  • วันที่ 19.11.2565
  • วิชา การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (4122309)
  • (OOP with Python)
  • อัพเดตเนื้อหาบทที่ 1 แล้วนะครับ

 

อ่านต่อ ...

...
บทความ

การเขียนโปรแกรมภาษาไพธอน

อ่านต่อ ...

...
Card title

This is a wider card with supporting text below as a natural lead-in to additional content. This card has even longer content than the first to show that equal height action.

อ่านต่อ ...